กรมปศุสัตว์​ ร่วมพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลไถ่ชีวิตโค กระบือ ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา เพื่อพระราชทานแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

กรมปศุสัตว์​ ร่วมพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลไถ่ชีวิตโค กระบือ ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา เพื่อพระราชทานแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

 

ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้บำเพ็ญพระราชกุศลไถ่ชีวิตโค กระบือ ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา เพื่อพระราชทานแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา โดยจะจัดพิธีไถ่ชีวิตโคกระบือ พร้อมกันในวันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม 2565 เวลา 14.00​ น. ในพื้นที่ 6 ภาค 6 จังหวัด ดังนี้​

​ 1.​ ภาคกลาง​ จัดขึ้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา​ โดยมี พล.อ.ต.สุพิชัย​ สุนทรบุระ เป็นประธานในพิธึ นายสัตวแพทย์สมชวน​ รัตนมังคลานนท์​ อธิบดีกรมปศุสัตว์​ พร้อมด้วย​ ปศุสัตว์เขต ​1 ปศุสัตว์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา​ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง​ เข้าร่วมฯ​

2.​ ภาคตะวันตก​ จัดขึ้นที่จังหวัดเพชรบุรี โดยมี​ พล.ท.ปณต แสงเทียน​ เป็นประธาน นายสัตวแพทย์โสภัชย์​ ชวาลกุล​ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์​ พร้อมด้วย​ นายธีรวิทย์ ขาวบุบผา ผอ.กองงานพระราชดำริและกิจกรรมพิเศษ​ ปศุสัตว์เขต​ 7 ปศุสัตว์จังหวัด​เพชรบุรี​ และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง​ เข้าร่วม​ฯ​ ​

3.​ ภาคตะวันออก​ จัดขึ้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา​ โดยมี​ พ.ต.อ.ธรรมนิธิ​ วานิชถนอม เป็นประธาน ​นายพงษ์พันธ์​ ธรรมมา​ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์​ พร้อมด้วย​ ปศุสัตว์เขต ​2 ปศุสัตว์จังหวัดฉะเชิงเทรา​ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม​ฯ​

4.​ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ​ จัดขึ้นที่จังหวัดสุรินทร์ โดยมี​ พล.ท.กฤษดา สาริกา เป็นประธาน ปศุสัตว์เขต 3 ปศุสัตว์จังหวัดสุรินทร์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม​ฯ​

​5.​ ภาคเหนือ​ จัดขึ้นที่จังหวัดน่าน​ โดยมี​ พล.ต.กัลย์สรรค์ จันทรเสน เป็นประธาน ปศุสัตว์เขต 5 ปศุสัตว์จังหวัดน่าน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม​ฯ​

6.​ ภาคใต้​ จัดขึ้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมี​ พล.อ.ศิวะ ภระมรทัต เป็นประธาน ปศุสัตว์เขต 8 ปศุสัตว์จังหวัดนครศรีธรรมราช และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม​ฯ​


ซึ่งในแต่ละจังหวัดจะจัดพิธีไถ่ชีวิตโคกระบือ จังหวัดละ 44 ตัว ประกอบด้วย โค จำนวน 11 คู่ (เพศผู้ 11 ตัว เพศเมีย 11 ตัว) และกระบือเพศเมีย จำนวน 22 ตัว​
สำหรับโคที่ได้รับการไถ่ชีวิตนำไปช่วยเหลือเกษตรกรตามโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ และกระบือจะนำไปช่วยเหลือเกษตรกรตามโครงการอนุรักษ์และพัฒนากระบือไทย

  • 001
  • 002
  • 003
  • 004
  • 009
  • 03
  • 04
  • 05
  • 07
  • 08
  • 09
  • 10
  • 11
  • 12
  • 13
  • 14
  • 15
  • 6

Simple Image Gallery Extended

journal

reportDLD

reportBLSCn

opendata dld