รัฐมนตรีเกษตรฯนัดประชุมคกก.ป้องกัน ควบคุมและกำจัดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรแห่งชาติ หารือทางออกในการควบคุมป้องกันโรค ASF โดยเร็ว
26 พ.ย.2565 เวลา 13.30 น. ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการป้องกัน ควบคุมและกำจัดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรแห่งชาติ โดยมีดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์,นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต,อธิบดีกรมปศุสัตว์ พร้อมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้
รายงานการเกิดโรค ASF ในสุกร ทั่วโลก ปี 2562
-2565พบทั้งหมด 4 ทวีป ได้แก่ แอฟริกา เอเชียยุโรป และ อเมริกาเหนือ รวมทั้งหมด 41ประเทศ รวมประเทศไทยเริ่มต้นพบการระบาดทางตอนบนของประเทศจีน ติดกับชายแดนประเทศรัสเซีย6 เดือน แพร่ระบาดทั้งประเทศทำลายสุกรกว่า300,000,000 ตัว
ผลการสำรวจข้อมูลสุกร ปัจจุบันเปรียบเทียบจำนวนเกษตรกรและจำนวนสุกร จากการสำรวจ ณ มกราคม 2565 สรุปดังนี้
1. จำนวนเกษตรกรปี 2565 เป็น 107,157 ราย ลดลงร้อยละ 43.35 จำนวนสุกรทั้งหมดเป็น 10.847 ล้านตัว ลดลงร้อยละ 11.81 จำนวนสุกรแม่พันธุ์เป็น 0.979 ล้านตัว ลดลงร้อยละ 11.16 จำนวนสุกรขุน เป็น 9.569 ล้านตัว
2. ในระดับเขตปศุสัตว์ พื้นที่ที่มีการเลี้ยงแม่พันธุ์ เพิ่มขึ้นได้แก่ เขต 1 (จังหวัดชัยนาท) เขต 4 (จังหวัดขอนแก่น)
เขต 6 (จังหวัดนครสวรรค์ อุธัยธานี กำแพงเพชร เพชรบูรณ์)ส่วนพื้นที่เขตปศุสัตว์ที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญ มีการเลี้ยงแม่พันธุ์ลดลง ได้แก่ เขต 7 จำนวนแม่พันธุ์ลดลงร้อยละ 30เขต 2 จำนวนแม่พันธุ์ลดลงร้อยละ 20
3. แหล่งผลิตสำคัญ คือ เขตปศุสัตว์ที่ 7 และ 2 มีปริมาณการเลี้ยงและจำนวนเกษตรกรลดลง ส่วนแหล่งผลิตรองมีปริมาณการเลี้ยงเพิ่มขึ้นคือ เขตปศุสัตว์ที่ 4 และ 6
4. เกษตรกรมีการปรับตัว ยกระดับ ขยายขนาดการเลี้ยงให้เหมาะสม คุ้มค่าการลงทุน ลดความเสี่ยงจากปัญหาด้านสุขภาพ โดยลดความหนาแน่นของสุกรในฟาร์ม
สำหรับแนวทางการส่งเสริมและฟื้นฟูการเลี้ยงสุกรรายย่อย-เล็กโดยมีมาตรการ 3 S
1. Scan นที่ภายใต้มาตรการประเมินความเสียงเพื่อกำหนดพื้นที่นำร่อง (Pis Sandbox)
2. Screen คน คอก เครื่องมือ อุปกรณ์ ที่มีความพร้อม และเหมาะสม
3. Support อุดหนุน ช่วยเหลือ ด้านการจัดการเลี้ยงดู การตลาด และแหล่งทุน
นอกจากนี้อธิบดีกรมปศุสัตว์ได้สั่งการสำรวจจำนวนซากสุกรและผลิตภัณฑ์ที่จัดเก็บในห้องเย็นและสถานที่จัดเก็บและการดำเนินการบังคับใช้กฎหมาย การตรวจห้องเย็นสินค้าปศุสัตว์
- พื้นที่เข้าดำเนินการทั้งหมด (195แห่ง) พื้นที่เข้าดำเนินการทั้งหมดสะสม วันที่ 20-25 มกราคม 2565(773แห่ง )
- จำนวนตรวจพบซากสุกร 5,023,322.22 กิโลกรัม จำนวนตรวจพบซากสุกร สะสม 20-25 มกราคม 2565 (18,727,824.545 กิโลกรัม)
อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวทิ้งท้ายว่ากรมปศุสัตว์มีมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาสุกรอย่างเข้มงวดมีการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อป้องกันการลักลอบนำสุกรมีชีวิตและผลิตภัณฑ์เข้าประเทศ เฝ้าระวังและค้นหาโรคเชิงรับและเชิงรุก เช่น การเฝ้าระวังทางอาการในฟาร์ม การเฝ้าระวังในโรงฆ่าสัตว์ การเฝ้าระวังในซากและผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในตลาด การประเมินความเสี่ยงระดับอำเภอทั่วประเทศ เพื่อกำหนดมาตรการการควบคุมการเคลื่อนย้ายโดยทำฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM: Good Farming Management) เพื่อเป็นการลดความเสียหายสามารถป้องกันการเกิดโรคได้และเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเพื่อยกระดับเป็นฟาร์มที่มีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) และการรายงานผลตรวจโรคหากตรวจพบผลบวกต่อเชื้อ ASF ในสุกรให้ในใบรายงานผลเพิ่มข้อแนะนำและมาตรการดำเนินการให้เกษตรกรทราบเพื่อจะได้ดำเนินการได้ถูกต้องเพื่อลดความเสียหายจากการแพร่กระจายโรคด้วย
ณ ห้องประชุม 134 -135 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์