ไทยสะดุ้ง “เวียดนามแบนหมู” มีผลแล้วอธิบดีกรมปศุสัตว์ร่อนหนังสือยืนยันหมูไทยตรวจไม่พบเชื้อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรพร้อมยกระดับ 7 มาตรการป้องกันเข้มข้นคาดระงับข่าวอาจจะคลาดเคลื่อนเข้าใจผิดทั้งที่มีความต้องการสูง
นายสัตวแพทย์สรวิศธานีโตอธิบดีกรมปศุสัตว์เปิดเผยว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ส่งหนังสือชี้แจงเรื่องนี้ไปยังเวียดนามทันทีที่ได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวจากกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนามยืนยันว่าไม่พบเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในหมูไทยตามรายงานพร้อมตรวจสอบข้อมูลการสุ่มตรวจโรค ASF อย่างละเอียดอีกครั้งก็ไม่พบเชื้อในตัวอย่างแต่อย่างใดโดยได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงในทันที
พร้อมส่งหนังสือแจ้งผลตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของสุกรแล้วขณะเดียวกันได้ยกระดับมาตรการตรวจสอบสุกรมีชีวิตก่อนการส่งออกให้เข้มงวดมากยิ่งขึ้นโดยส่งหนังสือแจ้งผู้ประกอบการส่งออกสุกรทุกรายว่าสุกรมีชีวิตทุกชนิดที่จะส่งออกไปยังเวียดนามต้องได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ด่านกักกันสัตว์ท่าออกอีกครั้งก่อนอนุญาตให้ส่งออกด้วยการสุ่มเก็บตัวอย่างสุกรบนรถขนสุกรทุกคันบริเวณจุดขนถ่ายสุกรที่ท่าส่งออกหรือจุดที่ด่านกักกันสัตว์กำหนด10ตัวอย่างต่อคันมีผลบังคับใช้ในทันทีเพิ่มเติมจากข้อกำหนดเดิมของประเทศเวียดนามที่กำหนดไว้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ประเทศคู่ค้าถึงการกำกับดูแลมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขภาพสุกรของไทย
“การระงับของเวียดนามเป็นไปตามความเข้าใจคลาดเคลื่อนเดิมที่แจ้งมาเมื่อเดือนพฤษภาคมซึ่งเมื่อได้ชี้แจงไปยังเวียดนามแล้วมีความเข้าใจเป็นอันดีโดยคาดว่าจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสัตว์ผ่านประเทศอื่นขณะที่ความต้องการบริโภคเนื้อหมูยังคงสูงและเชื่อว่าเวียดนามจะกลับมานำเข้าหมูไทยอีกในเร็วๆนี้ขอยืนยันว่าการเลี้ยงสุกรของไทยมีมาตรฐานและมีมาตรการในการป้องกันโรคโดยเฉพาะ ASF เพื่อให้ไทยยังคงสถานะปลอดโรคนี้โดยเน้นย้ำเกษตรกรผู้เลี้ยงและผู้ประกอบการร่วมกันยกระดับมาตรการป้องกันโรคที่เข้มงวดอยู่แล้วให้ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น”
นายสัตวแพทย์สรวิศกล่าวว่าล่าสุดกรมปศุสัตว์ยกระดับการป้องกันให้เข้มข้นขึ้นโดยกำหนดมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรค ASF 7 ด้านได้แก่
1. เร่งรัดติดตามการขึ้นทะเบียนผู้รวบรวมสุกรหรือพ่อค้าคนกลาง (broker) ในแต่ละจังหวัดให้เสร็จโดยเร็ว
2. ปรับปรุงมาตรการและหลักเกณฑ์การเคลื่อนย้ายให้ง่ายต่อการปฏิบัติและให้มีประสิทธิภาพต่อการป้องกันโรคโดยผ่านคณะอนุกรรมการวิชาการให้ออกมาตรการโดยเร็วที่สุด
3. ชี้แจงมาตรการและหลักเกณฑ์การเคลื่อนย้ายสุกรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
4. กองสารวัตรและกักกันให้เข้มงวดการตรวจสอบสุกรและผลิตภัณฑ์สุกรที่จะส่งออกไปต่างประเทศโดยให้ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างณด่านขาออกหากพบสัตว์ผิดปกติให้ดำเนินการตามที่กรมปศุสัตว์กำหนดอย่างเข้มงวด
5. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติตั้งคณะกรรมการพิจารณาการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกัน ASF
6. สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์รวบรวมและแจ้งรายชื่อโรงฆ่าสัตว์ที่สามารถรองรับการบริหารจัดการการดำเนินการลดความเสี่ยงต่อโรคภายในจังหวัดส่งให้ปศุสัตว์จังหวัดดำเนินการ
7. บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดหากพบการกระทำผิดแจ้งข้อมูลที่แอปพลิเคชั่น DLD 4.0 หรือสายตรงผู้บริหารกรมโดยตรง