อธิบดีกรมปศุสัตว์ โต้ ไม่มีการทุจริตวัคซีน “โรคลัมปี สกิน” ยืนยันไม่มี "ไอ้โม่ง" อยู่เบื้องหลัง เปิดแผนกระจายวัคซีน เป็นธรรม ฟรีทุกขั้นตอน ไม่มีค่าใช้จ่าย
จากกรณีที่มีข่าว“โรคลัมปีสกิน” กำลังระบาดหนักในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกำลังแพร่ระบาดไปในหลายพื้นที่ ของประเทศ แต่จนถึงวันนี้ (28 มิ.ย.) เป็นเวลาเกือบ 2 สัปดาห์แล้ว ที่รัฐมนตรีประภัตรบอกสภาว่า สั่งการให้กรมปศุสัตว์เร่งจัดหาวัคซีนและไปฉีดวัคซีนให้วัวของเกษตรกรนั้น เกษตรกรยังไม่พบเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่เลย มีส.ส.จำนวนหนึ่งติดต่อสอบถามไปยังปศุสัตว์จังหวัดว่า เมื่อไหร่จะไปฉีดวัคซีนให้วัวของเกษตรกรในพื้นที่ คำตอบที่ได้รับจากปศุสัตว์จังหวัดคือ “กำลังทำแผนการฉีดวัคซีน” นับเป็นคำตอบที่ไม่ตรงกับคำถามคือ “เมื่อไหร่จะไปฉีดวัคซีน” คำถามคืออะไรเกิดขึ้นที่กรมปศุสัตว์และปศุสัตว์จังหวัด ในเวลาเดียวกันกลับมีบุคคลจำนวนหนึ่งลงไปรับจ้างฉีดวัคซีนวัวให้เกษตรกร โดยคิดค่าบริการตัวละ 500-700 บาท
ต่อกรณีนี้ นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำงานเต็มที่อยู่แล้ว ตอนนี้กำลังฉีดวัคซีน “โรคลัมปี สกิน”ตามแผนบริหารจัดการวัคซีน3 แสน โด้ส จากการระบาดของโรคลัมปี สกิน ในประเทศในปัจจุบัน พบการระบาดของโรคทั่วประเทศ 53 จังหวัด และมีแนวโน้มที่จะแพร่ระบาดไปยังพื้นที่จังหวัดอื่นเพิ่มขึ้น ซึ่งมาตรการควบคุม ป้องกันโรคลัมปี สกิน จำเป็นต้องใช้มาตรการหลายมาตรการที่สำคัญร่วมกัน ได้แก่ การเข้มงวดควบคุมเคลื่อนย้ายการกำจัดแมลงพาหะ รวมถึงการใช้วัคชีนควบคุมและป้องกันโรคอย่างมีแบบแผน จึงจะสามารถทำให้อุบัติการณ์ของโรคลดลงได้
ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการฉีดวัคซีนเพื่อควบคุมโรคลัมปี สกินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพกรมปศุสัตว์จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคลัมปี สกินในสัตว์ให้มีความครอบคลุมประชากรโค กระบือไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของประชากรสัตว์กลุ่มเสี่ยงทั้งประเทศ โดยดำเนินการฉีดวัคนป้องกันโรคลัมปี สกิน เพื่อให้โค กระบือในพื้นที่เป้าหมายให้มีระดับภูมิคุ้มกันที่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้และลดปริมาณเชื้อไวรัสในพื้นที่ ร่วมกับการดำเนินการตามมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของโรคไปในวงกว้าง
ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการฉีดวัคซีนเพื่อควบคุมโรคลัมปี สกินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพกรมปศุสัตว์จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคลัมปี สกินในสัตว์ให้มีความครอบคลุมประชากรโค กระบือไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของประชากรสัตว์กลุ่มเสี่ยงทั้งประเทศ โดยดำเนินการฉีดวัคนป้องกันโรคลัมปี สกิน เพื่อให้โค กระบือในพื้นที่เป้าหมายให้มีระดับภูมิคุ้มกันที่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้และลดปริมาณเชื้อไวรัสในพื้นที่ ร่วมกับการดำเนินการตามมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมการแพร่กระจายของโรคไปในวงกว้าง
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต กล่าวถึงแผนการจัดสรรวัคซีนโรคลัมปีสกิน จำนวน 3 แสนโดส
ยกตัวอย่างพื้นที่
ปศุสัตว์เขต 1 ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร,ชัยนาท นนทบุรี ปทุมธานี,พระนครศรีอยุธยา,ลพบุรี,สระบุรี,สิงห์บุรี และอ่างทอง รวม 25,000 โด๊ส
ปศุสัตว์เขต 2 ประกอบด้วย จันทบุรี,ฉะเชิงเทรา,ชลบุรี,ตราด,นครนายก,ปราจีนบุรี,ระยอง,สมุทรปราการ,สระแก้ว จำนวน 10,520 โด๊ส
ปศุสัตว์เขต 3 ประกอบด้วย จังหวัดชัยภูมิ,นครราชสีมา,บุรีรัมย์,ยโสธร,ศรีสะเกษ,สุรินทร์,อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี จำนวน 23,900 โด๊ส
ปศุสัตว์เขต 4 ประกอบด้วย กาฬสินธุ์ ,ขอนแก่น,นครพนม บึงกาฬ,มหาสารคาม,มุกดาหาร,ร้อยเอ็ด,เลย,สกลนคร,หนองคาย,หนองบัวลำภู และอุดรธานี จำนวน 9,500 โด๊ส
ปศุสัตว์เขต 5 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย,เชียงใหม่,น่าน,พะเยา,แพร่,แม่ฮ่องสอน,ลำปาง,ลำพูน จำนวน 35,100 โด๊ส
ปศุสัตว์เขต 6 ประกอบด้วย กำแพงเพชร,ตาก,นครสวรรค์,พิจิตร,พิษณุโลก,เพชรบูรณ์,สุโขทัย,อุตรดิตถ์,อุทัยธานี จำนวน 36,420 โด๊ส
ปศุสัตว์เขต 7 ประกอบด้วย กาญจนบุรี,นครปฐม,ประจวบคีรีขันธ์,เพชรบุรี,ราชบุรี,สมุทรสงคราม,สมุทรสาครและสุพรรณบุรี จำนวน 27,720 โด๊ส
ปศุสัตว์เขต 8 ประกอบด้วย จังหวัด กระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช พังงา พัทลุง ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี รวม 81,120 โด๊ส
ปศุสัตว์เขต 9 ประกอบด้วย นราธิวาส,ปัตตานี,ยะลา,สงขลา,สตูล จำนวน 47,940 โด๊ส
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต กล่าวยืนยันตอนนี้กำลังฉีดวัคซีน มีการรายงานยืนยันทุกวัน และทุกพื้นที่ฟรีฉีดวัคซีนและ ไม่มีค่าบริการ ไม่มี "ไอ้โม่ง" อยู่เบื้องหลัง ยันมีแผนกระจายวัคซีน เป็นธรรม เป็นไปตามเงื่อนไขครอบคลุมประชากรโค กระบือไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของประชากรสัตว์กลุ่มเสี่ยงทั้งประเทศ