อธิบดีกรมปศุสัตว์หารือผู้ประกอบการฟาร์มไก่งวง ผลักดันการส่งออกไก่งวงไทย สู่ตลาดมุสลิม
ในวันที่ 8 ก.ค.62 เวลา 10.00 น.นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานหารือกับผู้ประกอบการไก่งวงไทย ฤาชาฟาร์ม เรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงไก่งวงให้กับเกษตรกรเพื่อการส่งออก พร้อมด้วยน.สพ.โสภัชย์ ชวาลกุล ผอ.สพส. นายอำพล วริทธิธรรม ผอ.กผส.และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้
ฤาชาฟาร์ม เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงไก่งวงแห่งประเทศไทย ในปัจจุบันมีโรงฟักไข่-พ่อแม่พันธุ์ 12 แห่งทั่วประเทศ และโรงขุนไก่งวงปัจจุบัน 80 กว่าแห่งทั่วประเทศ ส่วนใหญ่กำลังปรับปรุงฟาร์มเพื่อให้ผ่านการรับรองมาตรฐานจากกรมปศุสัตว์มาตรฐาน Halal, GMP
ปัจจุบันฟาร์มไก่งวงในเครือข่ายของ กลุ่มผู้เลี้ยงไก่งวงแแห่งประเทศไทย แบ่งเป็นโรงฟักไข่ไก่งวง และ โรงขุนไก่งวง รวมเกือบ 100 ฟาร์ม ทั่วทุกภาคของประเทศ ทั้งนี้การกระจายฟาร์มเครือข่าย เนื่องด้วยสาเหตุ เพื่อเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชน สร้างความมั่นคั่ง มั่นคง ยั่งยืน ตามแผนเศรษฐกิจไทยเเลนด์ 4.0 ไก่งวงไทย ถูกเลี้ยงแบบกึ่งธรรมชาติโดยมีวัตถุดิบในการเลี้ยง ได้มาจากพืชธรรมชาติเป็นหลัก
เพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพทางเลือกให้กับเกษตรกรเลี้ยงไก่งวงเพิ่มมากขึ้นและผลักดันให้กลุ่มผู้เลี้ยงไก่งวงสามารถส่งออกไก่งวงไปยังต่างประเทศได้จึงให้กรมปศุสัตว์สนับสนุนดังนี้
1.การรับรองโรงเชือด(ไก่เนื้อ)ให้นำไก่งวงเข้าเชือดเพื่อช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรที่เลี้ยงไก่งวง
2.ขอรับการสนับสนุนการสร้างโรงเชือดและโรงแปรรูปที่ได้มาตรฐานตามที่กรมปศุสัตว์รับรอง
3.ส่งเสริมการศึกษาดูงานการพัฒนาการเลี้ยงไก่งวงของต่างประเทศเพื่อนำมาปรับปรุงการเลี้ยงในประเทศให้ดีขึ้น
4.ส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้1ภูมิภาค 1 แห่ง
ทั้งนี้เพื่อสามารถช่วยเหลือชุมชน เพื่อกระจายรายได้ไปยังผู้อื่นในชุมชน เพราะถ้าไม่มีกลุ่มก็ไม่มีการพัฒนา ถ้าทำได้จะพบว่าการเลี้ยงไก่งวงไม่ได้เป็นแค่อาชีพเสริม แต่เป็นอาชีพที่สร้างรายได้มากอีกอาชีพหนึ่งส่วนผู้บริโภคสามารถมั่นใจได้เลยว่าไก่งวงที่บริโภคอยู่ทุกวันนี้ เป็นไก่งวงที่เกิดจากการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรไทย เป็นไก่งวงที่มีการเลี้ยงแบบปล่อยอิสระและกระบวนการเลี้ยง-กระบวนการผลิตรวมถึงการแปรรูปต้องทำให้เป็นไปตามมาตรฐานของกรมปศุสัตว์